หลักการ Universal Design (UD) กับการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ห้องน้ำของ MOGEN

หลักการ Universal Design (UD) กับการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ห้องน้ำของ MOGEN

ออกแบบห้องน้ำอย่างไรให้สามารถรองรับได้กับทุกเพศ ทุกวัย อย่างเท่าเทียมกัน

MOGEN มีข้อมูลสำคัญของหลักการในการออกแบบพื้นที่ การบริการ หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย แล้วทำอย่างไร? ที่จะออกแบบเพื่อตอบโจทย์ทั้งหมด ให้กับคนทุกๆ กลุ่ม วันนี้ MOGEN จึงได้นำหลักการนี้ที่เรียกว่า Universal Design มาใช้ในการออกแบบพื้นที่ในห้องน้ำ รวมไปถึงการเลือกใช้สุขภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ห้องน้ำ หรืออุปกรณ์เสริมในห้องน้ำ ที่ตอบโจทย์กับคนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ คนปกติ ผู้พิการ ทำให้ไม่มีอุปสรรคในการใช้งาน

Universal Design (UD) หมายถึง?

หมายถึง การออกแบบเพื่อทุกคน ในที่นี้ MOGEN จึงขอหยิบยกเรื่องการออกแบบห้องน้ำ เพื่อคนทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย วัยเด็ก วัยหนุ่ม หรือวัยชรา เด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ตลอดจนผู้พิการประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตาบอด หูหนวก พิการแขน ขา ฯลฯ

หลักการของ Universal Design (UD)

  • ทุกคนใช้ได้อย่างเท่าเทียมกัน (Equitability) ผู้อยู่อาศัยทุกคนควรมีความเสมอภาคและเท่าเทียมกันในการอาศัยอยู่ร่วมกันภายในบ้าน ตัวอย่างเช่น พื้นที่ภายในห้องน้ำต้องสามารถให้ทุกคนเดินได้สะดวกไม่ว่าจะเป็น เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ ควรมีพื้นเรียบเสมอกันไปตลอด ประตูไม่ควรมีธรณีประตูกั้น หรือพื้นที่ยกระดับ เพื่อให้ผู้ที่ใช้วีลแชร์สามารถเข็นรถได้ และควรมีแสงสว่างเพียงพอเพื่อการมองเห็นที่ชัดขึ้น ป้องกันการสะดุดล้มสำหรับผู้สูงอายุ

  • มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ (Flexibility) อุปกรณ์เสริมในห้องน้ำสามารถยืดหยุ่นในการใช้งานได้ ปรับเปลี่ยนความสูง-ต่ำ เพื่อให้เหมาะกับสภาพร่างกายของผู้อยู่อาศัย ตัวอย่างเช่น การใช้เฟอร์นิเจอร์ลอยตัวเพื่อสะดวกในการปรับเปลี่ยนในกรณีที่ต้องการพื้นที่ว่างทำกิจกรรม

  • ใช้งานง่าย (Simple and Intuitive) สิ่งอำนวยความสะดวกหรือเครื่องใช้ในห้องน้ำควรจะเป็นสิ่งที่ใช้ง่ายและอำนวยความสะดวกให้กับผู้อาศัยทุกเพศทุกวัยในบ้าน ตัวอย่างเช่น ก๊อกอ่างล้างหน้า แบบเซ็นเซอร์ ที่อำนวยความสะดวกให้แก่เด็กและผู้สูงอายุ

  • ข้อมูลชัดเจน สื่อความหมายเป็นที่เข้าใจ (Perceptible Information ) การสื่อสารที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้ง่าย ตัวอย่างเช่น มีการติดป้ายหรือสัญญลักษณ์เพื่อสื่อสารกับผู้ใช้งานทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นผู้พิการ ผู้สูงอายุ

  • เผื่อการใช้งานที่ผิดพลาด (Tolerance for error) การออกแบบที่เผื่อการใช้งานที่ผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น ควรจะมีการติดมือจับกันลื่นเพื่อให้ผู้สูงอายุพยุงตัวเวลาจะลุกขึ้นหรือหมุนตัว

  • ใช้แรงน้อย (Low Physical Effort ) อุปกรณ์เสริมในห้องน้ำควรจะทุ่นแรง เบาแรงในการใช้งาน ตัวอย่างเช่น ราวจับในห้องน้ำควรจะเป็นแบบก้านโยกแทนแบบหมุนและไม่ควรอยู่สูงเกินไป

  • ขนาดและพื้นที่ที่เหมาะสม (Size and Space ) มีขนาดและพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเข้าถึงและใช้งานได้ ไม่มีสิ่งกีดขวางการเคลื่อนที่ รองรับการเคลื่อนไหวและการเคลื่อนที่ภายใต้อุปกรณ์ช่วยเหลือแบบต่างๆ ที่จำเป็น เช่น มีขนาดพื้นที่กว้างพอสำหรับให้รถเข็น (Wheelchair) เข็นได้อย่างสะดวกและปลอดภัย

ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างของการใช้หลัก Universal Design ในการออกแบบห้องน้ำ เพื่อสามารถรองรับสมาชิกในครอบครัวทุกคนสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกและปลอดภัย หากคุณกำลังมองหาสุขภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ห้องน้ำ หรืออุปกรณ์เสริมในห้องน้ำ ที่สามารถตอบโจทย์ให้กับคนทุกเพศทุกวัย Mogen มีให้คุณได้เลือกตกแต่งห้องน้ำสวย ๆ ได้อย่างเพลิดเพลินกับดีไซน์ที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร

หากต้องการข้อมูลหรือคำแนะนำสอบถามรายละเอียดเพิ่มเพิ่มเติมได้ที่

qr

MOGEN Call Center : 02-789-9980  หรือ 02 1509709-1
Email : Mogen.co.th
Facebook : @mogen.co.th
LINE : @mogen.co.th
Website : https://mogenmore.com/

ico-facebook ico-youtube ico-instagram ico-pinterest ico-line

 

Login

Close ✕

สี

วัสดุ

ประเภท

Case Color

Light Color

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ โปรดยอมรับนโยบายคุกกี้ของเราเพื่อประสบการณ์ที่ดีที่สุดของคุณ คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการปรับการตั้งค่าคุกกี้ของคุณได้ที่นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า